การขยายพันธุ์ฮ่อม (Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze) ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

เกษตรกรไทย

ค้นหา

การขยายพันธุ์ฮ่อม (Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze) ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

การขยายพันธุ์ฮ่อมโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ทําโดยนําชิ้นส่วนยอดฮ่อมมาฟอกฆ่าเชื้อ ด้วยโซเดียมไฮโปคลอไรต์ แล้วนําไปเลี้ยงในอาหารสูตร Murashige & Skoog 1962 (MS) ที่มี ฮอร์โมน BAP (Benzylaminopurine) ความเข้มข้น 5 ระดับ คือ 0, 1, 2, 3 และ 4 มก./ล เลี้ยงใน สภาพปลอดเชื้อ ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส ความเข้มแสง 3000 ลักซ์ จากหลอดฟลูออเรส เซนต์ ได้รับแสง 16 ชั่วโมง/วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ยอดฮ่อมที่เลี้ยงในอาหารที่ เติม BAP 2 มก./ล สามารถชักนําให้เพิ่มปริมาณได้มากที่สุด โดยชิ้นส่วนยอดเพียงหนึ่งชิ้นส่วน สามารถเกิดยอดที่มีความยาวมากกว่า 1 ซ.ม. ได้จํานวนยอดเฉลี่ย 10.75 ยอด และแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ลักษณะยอดยืดยาว ใบสมบูรณ์มีสีเขียว ซึ่งเป็นลักษณะที่เหมาะสมต่อ การชักนําให้ยืดยาว และชักนําให้เกิดรากเพื่อย้ายออกปลูก และจากการศึกษาผลของฮอร์โมน IAA (Indole -3-Acetic Acid) ต่อ การยืดยาวของต้น การเกิดราก และความยาวของรากฮ่อม พบว่า ฮ่อมที่เลี้ยงในอาหารที่เติม IAA 1, 2, 3 และ 5 มก./ล สามารถชักนําให้ต้นฮ่อมยืดยาวและ เกิดรากได้ 100 % ภายในเวลา 3 สัปดาห์ ต้นฮ่อมมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการนําไปปรับสภาพใน โรงเรือนและย้ายไปเพาะปลูก

ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://librae.mju.ac.th/goverment/20111119104834_librae/23938.pdf

ห้อม หรือ ฮ่อม มีชื่ออื่นๆคือ ฮ่อมเมือง ครามหลอย ครามเหล็กขูด ครามย่าน ใบเบิก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลักษณะเป็นไม้พุ่มลำต้นกลมและตั้งตรง สูง 50-80 เซนติเมตร ลำต้นและเหง้าเป็นรูปทรงกระบอก บริเวณข้อเป็นปล้องคล้ายขาไก่ แตกกิ่งก้านตามข้อ ลักษณะใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม โคนใบเรียวปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยละเอียด กว้าง 2.5 – 6 ซม. ยาว 5 – 16 ซม ด้านบนของใบมีสีเขียวมัน ใบแก่หรือใบอ่อนเมื่อถูกกดหรือทุบทิ้งไว้จะกลายเป็นสีดำ ลักษณะดอก เป็นดอกช่อออกตามซอกใบและกิ่ง กลีบดอกสีม่วงอมขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผลมีรูปทรงคล้ายระฆัง เมล็ดมีลักษณะแบน มีสีเขียวเมื่อยังอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ เมื่อผลแห้งเปลือกจะแตกได้ง่าย

ห้อมเจริญเติบโตได้ดีในป่าชื้น ใกล้แหล่งน้ำ ต้องการร่มเงาพอประมาณ ไม่ชอบแสงแดดจัด ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ดหรือปักชำ

ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1

2332

ยังไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น